รู้ทัน…ป้องกัน โรคปอดอักเสบ

รู้ทัน…ป้องกัน โรคปอดอักเสบ
« เมื่อ: 18 พฤศจิกายน 2024, 16:06:35 pm »
รู้ทัน…ป้องกัน โรคปอดอักเสบ

โรคปอดอักเสบ (pneumonitis) หรือที่เรียกว่า “ปอดบวม” เป็นโรคติดเชื้อทางเดินหายใจ ซึ่งเกิดได้จากเชื้อแบคทีเรีย, เชื้อไวรัส, และเชื้อรา ทำให้เกิดการอักเสบของเนื้อปอด พบได้บ่อยในเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีภาวะภูมิต้านทานต่ำ ระดับความรุนแรงและการมีภาวะแทรกซ้อนจะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับชนิดของเชื้อโรคที่ทำให้เกิดการติดเชื้อ อายุ และสุขภาพของผู้ป่วย ซึ่งบางครั้งการติดเชื้ออาจรุนแรงและทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงจึงควรได้รับการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโรคไว้ก่อน


การวินิจฉัย

การซักประวัติ สอบถามอาการโดยเฉพาะอาการไอแบบมีเสมหะ มีไข้ และหายใจหอบ ร่วมกับการตรวจร่างกาย เช่น ฟังเสียงปอด และเอกซเรย์ปอด นอกจากนี้ ยังมีการตรวจเพิ่มเติมทางห้องปฏิบัติการเพื่อยืนยันการวินิจฉัยโรคและแยกเชื้อที่เป็นสาเหตุ ได้แก่

    ตรวจนับเม็ดเลือดขาวในเลือด เพื่อดูว่ามีการติดเชื้อหรือไม่
    ตรวจวัดออกซิเจนในเลือด เพื่อดูประสิทธิภาพของปอดในการลำเลียงออกซิเจนเข้าสู่กระแสเลือด
    ตรวจและเพาะเชื้อจากเสมหะและเลือด เพื่อหาชนิดของเชื้อที่เป็นสาเหตุของโรค

ใครบ้างเสี่ยงเป็น ?

โรคปอดอักเสบสามารถเกิดได้กับทุกเพศทุกวัย แต่ในกรณีของปอดอักเสบจากการติดเชื้อ มักพบบ่อยในเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 2 ขวบ และผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป นอกจากนี้ ยังพบได้ในผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงดังนี้ คือ

    ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล โดยเฉพาะในแผนกผู้ป่วยหนัก (ICU)
    ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคหอบหืด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคหัวใจ
    ผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น ผู้ติดเชื้อ HIV, ผู้ป่วยโรคเอดส์, ผู้ที่ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ ผู้ป่วยมะเร็งระหว่างการให้เคมีบำบัด หรือได้รับยากดภูมิคุ้มกันเป็นเวลานาน
    ผู้ที่สูบบุหรี่

การติดต่อ

    การไอ จาม หรือหายใจรดกัน
    การสำลัก เช่น สำลักน้ำลาย อาหาร หรือสารคัดหลั่งในทางเดินอาหาร
    การแพร่กระจายของเชื้อตามกระแสโลหิต
    การลุกลามจากการติดเชื้อที่อวัยวะข้างเคียงปอด
    การทำหัตถการบางอย่างในโรงพยาบาล ที่มีการปนเปื้อนหรือไม่ได้ทำความสะอาด


อาการของโรคปอดอักเสบ

    มีไข้สูง ตัวร้อน หน้าแดง เหงื่อออก หนาวสั่น
    ไอมีเสมหะ
    เจ็บหน้าอก
    หายใจเร็ว หายใจลำบาก หอบเหนื่อย
    คลื่นไส้ อาเจียน หรือท้องเสีย
    อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตัว ปวดตามข้อ
    ผู้สูงอายุอาจมีอาการซึม รู้สึกสับสน และไม่มีไข้
    ในทารกหรือเด็กเล็กอาจมีอาการปวดท้อง ท้องอืด อาเจียน ซึม ไม่ดูดนมหรือน้ำ บางรายอาจมีอาการชักจากไข้


การรักษาโรคปอดอักเสบ

การรักษาโรคปอดอักเสบจากการติดเชื้อ เป็นการรักษาการติดเชื้อร่วมกับการป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น โดยทางเลือกในการรักษาประกอบด้วย

    การให้ยาปฏิชีวนะ ในกรณีของการติดเชื้อแบคทีเรีย ปัจจุบันพบว่าการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างแพร่หลายอาจทำให้เชื้อบางชนิด เช่น Streptococcus pneumoniae มีการดื้อยาเพิ่มมากขึ้น
    การรักษาแบบประคับประคองตามอาการ สำหรับผู้ป่วยโรคปอดอักเสบจากเชื้อไวรัส และเชื้ออื่น ๆ แพทย์อาจพิจารณาให้ยาลดไข้ ยาขยายหลอดลม ยาละลายเสมหะ ในรายที่มีอาการรุนแรงอาจจำเป็นต้องให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ ให้ออกซิเจน และทำกายภาพบำบัดทรวงอก เป็นต้น
    การรักษาภาวะแทรกซ้อน โดยภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยได้แก่ เชื้อแบคทีเรียแพร่กระจายจากปอดเข้าสู่กระแสเลือดทำให้อวัยวะอื่น ๆ ติดเชื้อไปด้วย บางรายอาจพบฝีในปอด หรือภาวะมีน้ำในโพรงเยื่อหุ้มปอด


ข้อปฏิบัติตัวง่าย ๆ เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดโรคปอดอักเสบ

    ไม่สูบบุหรี่ เนื่องจากบุหรี่จะไปทำลายกระบวนการป้องกันการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจตามธรรมชาติของปอด
    ดูแลสุขอนามัยส่วนตัว เช่น หมั่นล้างมือเป็นประจำ และหลีกเลี่ยงการไปอยู่ในที่ที่มีผู้คนหนาแน่น
    หลีกเลี่ยงควันบุหรี่ ควันไฟ ควันจากท่อไอเสียรถยนต์ หรืออากาศที่หนาวเย็น
    เมื่อเป็นหวัด หรือไข้หวัดใหญ่อย่าปล่อยทิ้งไว้ ควรรักษาให้หายขาดแต่เนิ่น ๆ
    สร้างระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงด้วยการนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
    ไม่ดื่มสุรามากจนมึนเมาเพราะอาจสำลักเอาเชื้อโรคจากปากเข้าปอด


ใครบ้างที่ควรฉีดวัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบ

    ผู้สูงอายุที่อายุมากกว่า 65 ปี
    ผู้มีอายุตั้งแต่ 2-65 ปี
        ที่มีภูมิคุ้มกันผิดปกติ จากยาเช่น สเตียรอยด์, ยากดภูมิ, ยาต้านมะเร็งบางชนิด, ได้รับการฉายรังสี หรือเป็นจากตัวโรคเองเช่น โรคไตวาย, มะเร็ง, ไม่มีม้ามหรือม้ามไม่ทำงาน, ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะหรือไขกระดูก, ติดเชื้อ HIV
        มีปัญหาโรคเรื้อรัง ได้แก่ โรคปอด, โรคหัวใจ เบาหวาน, ตับแข็ง, พิษสุราเรื้อรัง, สภาวะที่มีการรั่วของน้ำไขสันหลัง, ได้รับการปลูกถ่าย cochlear
    ผู้มีอายุระหว่าง 19-64 ปี ที่สูบบุหรี่ หรือเป็นโรคหืด

วัคซีนนอกจากจะช่วยป้องกันโรคปอดอักเสบแล้วยังช่วยลดความรุนแรงของโรค หากพบการติดเชื้อขึ้นในภายหลัง

 

ลงประกาศฟรี ติดอันดับ google โพสต์ฟรี ลงโฆษณาฟรี ขายบ้าน ขายที่ดิน ขายคอนโด ขายรถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า สินค้าอุตสาหกรรม อาหารเสริม เครื่องสำอางค์ สถานที่ท่องเที่ยว วัตถุดิบทางการเกษตร ขายปลีก -ขายส่ง ลงโฆษณาฟรี ติดอันดับ Google